วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ตามรอยประวัติศาสตร์ พระผุด วัดพระทอง ภูเก็ต

ตามรอยประวัติศาสตร์ พระผุด วัดพระทอง ภูเก็ต

 
พระผุดหรือพระทอง อันเป็นพระพุทธรูปผุดจากดินโผล่แค่พระศอสูงถึงพระเกษ๑ (๒๔๔.๕ เซนติเมตร) วัสดุทองคำที่ภายนอกก่ออิฐถือปูนเป็นพระครึ่งองค์สวมทับไปอีกชั้นหนึ่ง องค์เดิมนั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด มีการปฏิสังขรณ์ครอบองค์เดิมอยู่หลายครั้งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองถลาง
ตามประวัติพระผุดได้กล่าวว่า เดิมทีเป็นบริเวณทุ่งนาเรียกว่าบ้านนา วันหนึ่งนั้นมีเด็กนำกระบือไปเลี้ยงโดยเอาเชือกผูกเข้ากับสิ่งหนึ่งมีลักษณะเหมือนแก่นไม้ที่มีโคลนติดอยู่ และเมื่อกลับไปบ้านเด็กก็เป็นลมตาย ส่วนกระบือก็ได้ตายอยู่ตรงนั้นพอตกกลางคืนมาพ่อของเด็กผู้ตายฝันว่า ที่เด็กและกระบือตายนั่นก็เพราะว่าไปผูกเชือกเอาไว้กับพระเกศของพระพุทธรูป ที่มีเกศเป็นทองคำงดงามยิ่งนัก จึงพากันไปแจ้งให้เจ้าเมืองได้ทราบ จึงได้สั่งขุดแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะมีตัวต่อและตัวแตนเข้ามาทำร้าย เจ้าเมืองจึงสั่งให้ทำเป็นหลังคาคลุมพระเกศเอาไว้ และสักการะบูชา กราบไหว้กันตลอดมาตั้งแต่นั้นมา
คนจีนโบราณได้เล่าขานกันว่า สมัยเมื่อธิเบตรุกรานจีนและตีได้เข้าเมืองเซี่ยงไฮ้ มีพระพุทธรูปทองคำที่ชื่อว่า "กิ้ม มิ่นจ้อ" ได้ถูกชาวธิเบตนำลงเรือมาทางทะเลจีนเข้ามายังมหาสมุทรอินเดียเพื่อที่จะต่อไปยังประเทศธิเบต แต่เรือถูกพายุพัดเข้ามายังฝั่งพังงาและจมลงตรงนี้เอง พระพุทธรูปก้ได้จมลงแต่มีคนมาพบเห็นดังกล่าว นอกจากเพื่อที่จะป้องกันโจรภัยแล้ว ชาวบ้านก็ได้เชื่อกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้นั้นมีความประสงค์ ที่จะประดิษฐานอยู่ในพื้นดินต่อไปจึงพากันสร้างพระพุทธรูปแค่เพียงครึ่งองค์สวมทับพระทองคำที่อยู่ที่ใต้ชั้นพื้นดินอีกชั้นหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ยังดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ได้ทำการเสด็จประพาสจังหวัดภูเก็ต พระราชทานนามวัดว่า"วัดพระทอง" พระผุด หรืออีกชื่อหนึ่งคือ หลวงพ่อพระทอง เป็นพระประธานอยู่ที่วัดพระทองหรือวัดพระผุดหรือวัดนาใน วัดเก่าแก่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านนาใน ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต สามารถเดินทางจากตัวเมืองภูเก็ตได้โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 402 และพอถึง อ.ถลาง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปยังวัดพระทองตามป้ายที่บอกข้างทางได้เลย
นอกจากพระผุดแล้ว ที่วัดพระทองยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเป็นอีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจของวัดโดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้นั้นตั้งอยู่ที่ชั้น 2 ของศาลาที่อยู่ใกล้กับโบสถ์ พระผุด ภายในอาคารนั้นจัดแสดง โบราณวัตถุและข้าวของเครื่องใช้ของเมืองภูเก็ต ที่ได้มาจากการสะสมของวัดและการที่บริจาคของชาวบ้านของที่น่าสนใจอาทิเช่น หมอนฝิ่นซึ่งเป็นหมอนที่คนจีนในสมัยก่อนใช้หนุนนอนเวลา ดูดฝิ่น มีรูตรงกลางเอาไว้ใส่เงิน/ รองเท้าตีนตุกนั้นเป็นรองเท้าตามความเชื่อแบบจีน เอาไว้เพื่อให้ผู้หญิงใส่ โดยรองเท้าตีนตุกจะมีขนาดเล็กกว่ารองเท้าธรรมดาทั่วไปหลายเท่าตัว/ จั่งซุ้ยหรือเสื้อกันฝนของชาวเหมืองแร่ นอกจากนี้ในพิพิธภัณฑ์ฯก็ยังมีของเก่าหายากให้ได้เลือกชมอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา เหรียญ-ธนบัตร จาน-ชาม หัวโขน พระเครื่อง โคมไฟ และก็อีกมากมายให้ได้นักท่องเที่ยวได้ชมกัน

ติดตามแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์อีกเพียบที่ http://travel.sanook.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น